ภาวะข้ออักเสบ (Arthritis)

GoHospo

ภาวะข้ออักเสบ (Arthritis)

ไม่รู้จักไม่ได้ คุณใช้คอมวันละกี่ชม.? ข้อ ของคุณยังอยู่ดีไหม ? ภัยเงียบที่คนทำงานหนัก ไม่แก่ก็เป็นได้ค่ะ

ภาวะข้ออักเสบ (Arthritis) เป็นกลุ่มของภาวะที่ร่างกายมีการทำลายข้อต่อจนเกิดการอักเสบ มีอาการปวด บวม แดง ร้อน บริเวณข้อต่อต่าง ๆ ข้ออักเสบมีได้หลากหลายรูปแบบ โดยที่พบมากที่สุด คือ ข้อเสื่อม (osteoarthritis) ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บของข้อต่อ เช่น จากการทำงานหนัก การใช้ข้อต่อในท่าเดิมซ้ำ ๆ การติดเชื้อของข้อและอายุ ส่วนข้ออักเสบรูปแบบอื่น ๆ อาจเกิดขึ้นได้แต่จะมีอาการรุนแรงและมีความจำเพาะของโรคแตกต่างออกไป เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้ออักเสบติดเชื้อ โรคเกาต์ซึ่งเกิดจากการสะสมของผลึกกรดยูริกในข้อและทำให้เกิดการอักเสบ เป็นต้น

หลายคนอาจนิ่งนอนใจว่า “โรคข้อเสื่อม” มักเป็นในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ทราบหรือไม่ว่า คนวัยทำงานหรือแม้กระทั่งคนที่อยู่ในวัยรุ่นก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน

สาเหตุโรคข้อเสื่อม
สาเหตุหลัก ๆ ของโรคมาจากการเสื่อมของกระดูกอ่อนบุข้อที่เกิดจากการใช้งานหนัก เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากความเสื่อมของข้อต่อตามอายุและการใช้งาน ส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุ

แต่ก็มีปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหลาย ๆ สาเหตุรวมกัน ไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเพียงอย่างเดียว เช่น น้ำหนักตัวมาก เป็นโรคอ้วน ทำงานท่าเดิมที่ใช้งานข้อซ้ำ ๆ มากเกินไป เล่นกีฬาบางชนิด ห
การใช้คอมพิวเตอร์ หรือมีประวัติเคยประสบอุบัติเหตุบริเวณข้ออย่างรุนแรง มีประวัติเคยติดเชื้อในข้อ โรคข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น รูมาตอยด์ หรือ เกาต์ ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดอาการเสื่อมของข้อตามมา

ระยะการเสื่อมของข้อเข่า แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 มีอาการเจ็บเล็กน้อย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง แต่อาจมีอาการฝืด ข้อติดขัด
ระยะที่ 2 กระดูกอ่อนผิวข้อเริ่มสึก
ระยะที่ 3 ผิวข้อเริ่มขรุขระกระดูกอ่อนผิวข้อเริ่มแตกร่อน มีอาการเจ็บขัดมากขึ้น
ระยะที่ 4 กระดูกอ่อนผิวข้อสึกทั่วข้อเข่า ผู้ป่วยจะรู้สึกทรมานมาก มักมีโอกาสที่ต้องผ่าตัดสูง

การตรวจวินิจฉัยโรคข้อเสื่อม
ก่อนการรักษาแพทย์จำเป็นต้องตรวจโดยเริ่มจากการซักประวัติสุขภาพทั้งหมด อาการ ลักษณะการปวดข้อ และความสามารถในการใช้งานข้อ จากนั้นตรวจร่างกาย ตรวจการทำงานของข้อ ความแข็งแรงของข้อ แพทย์อาจส่งตรวจเอกซเรย์ที่ข้อเพื่อให้การวินิจฉัยแน่นอน การตรวจเลือดทำเมื่อสงสัยข้ออักเสบบางอย่าง เช่น รูมาตอยด์ แฟกเตอร์, แอนตินิวเคลียร์แฟกเตอร์ (ANF) และแอนติบอดีจำเพาะอื่น ๆ

หากพบว่ามีปัญหาการปวดข้อ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อหาสาเหตุของอาการปวด เพราะโรคข้อเสื่อมหากปล่อยไว้นานจะทำให้อาการรุนแรงจนไม่สามารถเดินได้อีกต่อไปค่ะ

เอกสารอ้างอิง

Other Category