มะเร็งลำไส้ใหญ่

Gohospo

มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่ นาทีนี้ไม่รู้จักไม่ได้ ป้องกันได้ค่ะ มาเช็คกันว่าคุณมีความเสี่ยงหรือไม่ !?

.

มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคที่พุ่งขึ้นมาติดอันดับต้น ๆ ติดอันดับ 3 ของโลก จากสถิติผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง (ผู้ชาย 10 คนต่อประชากรชาย 100,000 คน และเพศหญิง 7 คนต่อ 100,000 คน) โดยมีผู้เป็นมะเร็งลำไส้มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 50%

.

มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่ป้องกันได้หากเราดูแลสุขภาพ รู้จักสังเกตอาการ และตรวจสุขภาพประจำปี สาเหตุของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ นอกจากกรรมพันธุ์แล้ว พฤติกรรมการรับประทานอาหารและการขับถ่ายที่ไม่ถูกต้องเป็นสาเหตุหลักของมะเร็งลำไส้ใหญ่

.

มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคที่เซลล์ปกติในลำไส้ใหญ่เกิดการเปลี่ยนแปลง มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนไม่หยุดจนควบคุมไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงนี้อาจใช้เวลาเป็นปี ในระยะแรก ๆ เซลล์อาจเป็นแค่เนื้องอกธรรมดา แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษาหรือตัดทิ้ง เนื้องอกนี้อาจลุกลามกลายเป็นมะเร็งได้

.

สาเหตุของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ แม้ว่ายังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีบางปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ เช่น

- มีประวัติเนื้องอก หากเวลาผ่านไป เนื้องอกอาจกลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

- อายุมากกว่า 50 ขึ้นไป

- มีประวัติของโรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร (inflammatory bowel - disease; IBD) ได้แก่ โรค ulcerative colitis และ Crohn’s disease ซึ่งอาจกลายเป็นลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังและเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น

- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะที่เป็นก่อนอายุ 60 ปี

- การขับถ่ายไม่เป็นเวลา

- ท้องผูกบ่อย ๆ

- ไม่ออกกำลังกาย

- การสูบบุหรี่

- ภาวะอ้วน

ล้วนแล้วแต่เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น

.

การวินิจฉัยโรค แพทย์จะใช้วิธีตรวจหลาย ๆ วิธีร่วมกันเพื่อวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ และมีการแพร่กระจายไปที่ใดแล้วหรือไม่ การวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การตัดชิ้นเนื้อ (biopsy) เป็นวิธีการวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่แม่นยำที่สุด เป็นการตรวจทางชีวโมเลกุลของมะเร็ง การตรวจเลือด โดยการตรวจนับปริมาณเม็ดเลือดแดง หรือวัดระดับโปรตีน CEA (carcinoembryonic antigen) การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) สามารถใช้ในการตรวจสอบตำแหน่งของโรคและการกระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ การตรวจอัลตราซาวนด์ การเอกซเรย์ปอด เป็นการตรวจดูว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปยังปอดหรือไม่ และ PET scan

.

เห็นอย่างนี้แล้วอยากให้ทุกท่านดูแลสุขภาพ รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ขับถ่ายอย่างสม่ำเสมอทุกวัน หลีกเลี่ยงภาวะท้องผูก รวมถึงตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี อย่างที่เค้าบอกว่า...กันไว้ดีกว่าแก้ ถ้าแย่แล้วจะแก้ไม่ทันนะคะ

เอกสารอ้างอิง

1. https://www.cancer.org/cancer/colon-rectal-cancer/about/what-is-colorectal-cancer.html

2. https://www.roche.co.th/en/disease-areas/colorectal-cancer.html

3. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/colon-cancer/symptoms-causes/syc-20353669

4. https://www.medicalnewstoday.com/articles/155598#symptoms

5. http://www.nci.go.th/th/cpg/Cervical_Cancer3.pdf

Other Category