โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็ง (ผู้ชาย-ผู้หญิง) + ตรวจร่างกาย ด้วยเครื่อง EIS 8 รายการ - บางกอก เวลเนส เมดิคัล คลินิก
รายละเอียดแพ็กเกจ
ตรวจคัดกรองมะเร็ง (สำหรับผู้หญิงและผู้ชาย) + ตรวจร่างกาย ด้วยเครื่อง EIS 8 รายการ มีรายการตรวจดังนี้
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC - Complete Blood Count)
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FBS - Fasting Blood Sugar)
- ตรวจการทำงานของไต (BUN)
- ตรวจการทำงานของไต (Creatinine)
- ตรวจการทำงานของไต (eGFR)
- ตรวจหากรดยูริกในเลือด (Uric Acid)
- ตรวจคัดกรองโรคตับ (SGOT-AST)
- ตรวจคัดกรองโรคตับ (SGPT-ALT)
- ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน (AFP)
- ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ใหญ่ (CEA)
- ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งเต้านม (CA 125) (ญ)
- ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ (CA 15-3) (ญ)
- วินิจฉัยและติดตามผลการรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) (ช)
- ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (Free PSA) (ช)
- ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน (CA 19-9)
- ตรวจท่อน้ำดีตับ LDH
- ตรวจธาตุเหล็กในร่างกาย (Serum Ferritin)
- ตรวจระดับฮอร์โมนเพศหญิง (beta-hCG)
ตรวจสแกนอวัยวะภายในร่างกาย ด้วยเครื่อง EIS 8 รายการ มีรายการตรวจดังนี้
- ตรวจสแกนระบบหัวใจและหลอดเลือด
- ตรวจสแกนระบบต่อมไร้ท่อ
- ตรวจสแกนระบบขับถ่าย และระบบสืบพันธุ์
- ตรวจสแกนระบบสั่งการของประสาทและกล้ามเนื้อ
- ตรวจสแกนระบบทางเดินหายใจ
- ตรวจสแกนระบบการย่อยอาหาร
- ตรวจสแกนระบบประสาทและสมอง
- ตรวจสแกนระบบการเผาผลาญอาหาร
• ค่าปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ (Doctor Consultant)
• ฟรี! ปรึกษานักกายภาพบำบัด (Physical Consultation)
ระยะเวลาการให้บริการ
- ระยะเวลารับบริการประมาณ 30 นาที
- ทราบผลการตรวจประมาณ 7-14 วันหลังรับบริการ
- เจ้าหน้าที่จะนัดหมายเข้ามาฟังผลกับแพทย์ที่คลินิก
ข้อควรรู้ก่อนเข้ารับบริการ
- ควรนัดหมายล่วงหน้า
- ตรวจด้วยวิธีการเจาะเลือด
- เครื่องสแกน Electro Interstitial (EIS) เป็นอุปกรณ์การถ่ายภาพทางการแพทย์ ใช้หลักการการขัดขวางการนำไฟฟ้าของร่างกาย (Bio-electro impedances) ในการรตรวจดูการทำงานของเซลล์ในแต่ละอวัยวะ ทำให้เห็นภาวะผิดปกติ ระดับความเสื่อม และแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นตามหลักการสรีรวิทยา
- ผู้ที่มีโลหะในร่างกายจะไม่สามารถรับบริการตรวจสแกนด้วยเครื่อง EIS
- ชาวต่างชาติสามารถเข้ารับบริการได้ โดยต้องใช้พาสปอร์ตเพื่อยืนยันตัวตน
การเตรียมตัวก่อนรับบริการ
- ผู้ที่ตั้งครรภ์หรือสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนการตรวจก่อน
- ควรนอนพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง ก่อนตรวจ
- งดเครื่องดื่มและอาหาร อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนตรวจ สามารถจิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจ
- ควรสวมเสื้อผ้าที่สะดวกต่อการเจาะเลือดที่ข้อพับแขน
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ
ผู้ที่เหมาะกับบริการนี้
- ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง
- ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
- ผู้ที่มีประวัติการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส หนองใน เริม
- ผู้ที่ขาดสารอาหารบางชนิด โดยเฉพาะผู้ที่รับประทานผัก และผลไม้น้อย
- ผู้ที่สูบบุหรี่
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการตรวจมะเร็ง
การตรวจคัดกรองมะเร็ง เป็นการตรวจหาความเสี่ยงในเบื้องต้น เพื่อประเมินโอกาสการเกิดมะเร็งตามช่วงอายุที่เหมาะสม ทั้งในคนทั่วไปที่มีสุขภาพดี และผู้ที่มีความกังวลหรือมีอาการผิดปกติ
- 5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงไทย ได้แก่ เต้านม ช่องคลอด ลำไส้ใหญ่ มดลูก ปอดและหลอดลม
- 5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชายไทย ได้แก่ ตับและท่อน้ำดี ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ปอดและหลอดลม ต่อมลูกหมาก ปากและช่องปาก
อ้างอิงจาก จำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่จากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ. 2562 (ข้อมูลล่าสุด)
มะเร็ง คืออะไร?
- มะเร็ง คือเนื้อเยื่อที่เกิดขึ้นอย่างผิดปกติในร่างกาย มีการแบ่งตัวและเติบโตอย่างไร้การควบคุมจากระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งเซลล์มะเร็งนี้มีต้นกำเนิดมาจากการกลายพันธุ์ของเซลล์ปกติในร่างกาย
ข้อดีของการตรวจคัดกรองมะเร็ง คือ?
- การตรวจคัดกรองมะเร็งสามารถบอกความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง ได้ตั้งแต่ยังไม่มีการพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็ง การตรวจไม่ยุ่งยาก และไม่มีการตัดเนื้อเยื่อไปตรวจแต่อย่างใด
- หากผลการตรวจคัดกรองพบว่าไม่มีความเสี่ยง จะทำให้ผู้ที่มีสุขภาพดีมั่นใจยิ่งขึ้น และช่วยให้ผู้ที่รู้สึกมีอาการผิดปกติ หรือมีความกังวลอยู่ คลายความวิตกกังวลไปได้
- หากพบว่ามีความเสี่ยงอยู่บ้าง ยังไม่ได้หมายความว่าเป็นมะเร็ง แพทย์จะให้ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยง ข้อควรระวัง และการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม พร้อมทั้งแนะนำว่าควรมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลหรือไม่
- หากมีเซลล์ผิดปกติอยู่ การตรวจคัดกรองจะช่วยให้มีโอกาสตรวจพบได้เร็ว และมีโอกาสรักษาให้หายมากขึ้น การเริ่มต้นรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะทำให้ลดโอกาสการเสียชีวิตจากโรคนี้ได้
ตรวจคัดกรองมะเร็ง VS ตรวจมะเร็ง ต่างกันอย่างไร?
- การตรวจคัดกรองมะเร็ง เป็นการตรวจสิ่งบ่งชี้ความเสี่ยงของมะเร็งในเบื้องต้น โดยยังไม่มีการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อไปตรวจยืนยันว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ การตรวจค่อนข้างสะดวก และถือเป็นด่านแรกที่จะช่วยให้เราประเมินความเสี่ยงได้
- ในขณะที่ การตรวจมะเร็งจะมีการตรวจอื่นๆ ที่ละเอียดมากขึ้น โดยวิธีการตรวจจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่สงสัยว่าจะมีเนื้อร้าย และจะมีการตัดตัวอย่างเนื้อเยื่อไปตรวจวิเคราะห์เพื่อยืนยันผลว่าเป็นเซลล์มะเร็งจริงหรือไม่
เนื้องอก VS มะเร็ง ต่างกันอย่างไร?
- เนื้องอก เกิดจากการเจริญเติบโตผิดปกติของเซลล์ แต่ไม่เจริญลุกลามไปยังบริเวณอื่นของร่างกาย โดยส่วนใหญ่จะไม่อันตราย แต่หากอยู่ในส่วนที่สำคัญหรือปล่อยทิ้งไว้จนมีขนาดใหญ่ขึ้นจนมีผลต่อการทำงานของอวัยวะนั้นๆ หรืออวัยวะข้างเคียง ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ซึ่งหากส่วนของเนื้องอกนั้นมีลักษณะเป็นถุงน้ำจะถูกเรียกว่าซีสต์
- ในขณะที่มะเร็งเป็นเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย มีการแบ่งตัวของเซลล์ที่ผิดปกติ ขยายขนาดขึ้นเรื่อยๆ และสามารถลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ได้ เป็นอันตรายต่อการทำงานของอวัยวะนั้นๆ และระบบอื่นๆ ที่มะเร็งลุกลามไป
หมายเหตุ : หากมีโรคประจำตัวควรแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนเข้ารับการตรวจ
- เปิดทำการทุกวัน วันจันทร์-อาทิตย์ 09.00-18.00 น. (รับคิวสุดท้าย 17.00 น.)
- 22/22 ถ. รัชดา-รามอินทรา แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร 10230
- แผนที่ https://goo.gl/maps/39z4o45AZGbCGWKL8
- มีที่จอดรถหน้าคลินิก