โปรแกรมตรวจสารบ่งชี้มะเร็งสำหรับผู้หญิง 3 รายการตรวจ - บางกอก เวลเนส เมดิคัล คลินิก
รายละเอียดแพ็กเกจ
ตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง สำหรับผู้หญิง 3 รายการ ด้วยวิธีการตรวจเลือด มีรายการตรวจดังนี้
- มะเร็งรังไข่ (CA 125)
- มะเร็งเต้านม (CA 153)
- มะเร็งตับ (AFP)
- ค่าแพทย์และค่าบริการ
- ฟรี! ปรึกษานักกายภาพบำบัด (Physical Consultation)
ระยะเวลาในการให้บริการ
- ระยะเวลารับบริการประมาณ 30-60 นาที ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของผู้เข้ารับบริการ
- ระยะเวลารอผลประมาณ 5-7 วันทำการ
- อธิบายผลโดยแพทย์ผู้ชำนาญการ
เงื่อนไขในการเข้ารับบริการ
- ควรนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ
- ชาวต่างชาติสามารถเข้ารับบริการได้ โดยต้องใช้พาสปอร์ตเพื่อยืนยันตัวตน
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับบริการ
- งดอาหารอย่างน้อย 8-12 ชั่วโมง
- สวมเสื้อที่สะดวกต่อการเจาะเลือดที่ข้อพับแขน
- คืนก่อนเข้ารับบริการ ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง
- สารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor Marker) เป็นสารชีวโมเลกุลที่ถูกสร้างและหลั่งออกจากเซลล์มะเร็ง บางกรณีเป็นสารที่ร่างกายผลิตขึ้นเพื่อตอบสนองต่อเซลล์มะเร็ง ตรวจพบได้ในกระแสเลือดหรือสารคัดหลั่ง ถูกนำมาใช้ในการตรวจคัดกรอง ประเมินระยะของโรคเพื่อติดตามการรักษา ประเมินโอกาสในการแพร่กระจายของโรค
การตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง
- การตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง สามารถตรวจได้จากเลือด ปัสสาวะ เนื้อเยื่อ และสารคัดหลั่งอื่นๆ ในช่องท้อง เพื่อหาแนวโน้มหรือความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง กรณีที่อยู่ระหว่างการรักษามะเร็งจะตรวจเพื่อติดตามการรักษา
- การเพิ่มขึ้นของสารดังกล่าวอาจตรวจพบค่าผิดปกติได้ในมะเร็งหลายชนิด หรือเกิดจากภาวะอื่นๆ ที่ไม่ใช่มะเร็ง เนื่องจากสามารถตรวจพบสารบ่งชี้มะเร็งในปริมาณต่ำๆ ได้ในคนปกติ ผู้ป่วยที่มีการอักเสบ
- รวมทั้งระดับสารบ่งชี้มะเร็งที่สูงกว่าปกติเพียงอย่างเดียว ก็ไม่สามารถบอกได้เช่นกัน ว่าผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง จำเป็นต้องตรวจทางคลินิกและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ เพิ่มเติม
ประโยชน์ของการตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง
- วินิจฉัยโรคมะเร็ง โดยต้องพิจารณาร่วมไปกับการตรวจทางการแพทย์อื่นๆ
- คัดกรองโรคมะเร็งบางชนิด⠀ได้แก่ การเจาะเลือดตรวจค่า Alpha-fetoprotein (AFP) ในคนที่เป็นตับอักเสบเรื้อรังหรือตับแข็ง เพื่อคัดกรองภาวะมะเร็งตับ และ การเจาะเลือดตรวจค่า Prostate specific antigen (PSA) ในผู้ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เพื่อตรวจกรองภาวะมะเร็งต่อมลูกหมาก
- ติดตามผลการรักษา โดยผู้ป่วยมะเร็งที่ตรวจพบว่ามีระดับสารบ่งชี้มะเร็งสูงตั้งแต่เมื่อแรกวินิจฉัย หลังจากได้รับการรักษาแล้ว ระดับสารบ่งชี้มะเร็งที่เคยสูง ควรค่อยๆ ลดลง แต่หากระดับสารบ่งชี้ที่เคยลดลงกลับมีค่าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกครั้ง แสดงว่าอาจมีการกลับมาของโรคมะเร็ง
- พยากรณ์โรค เนื่องจากระดับสารบ่งชี้มะเร็งจะแปรผันตามระยะของโรคมะเร็ง ดังนั้นถ้าตรวจพบระดับสารบ่งชี้ที่สูงมาก หมายความว่ามะเร็งมีขนาดใหญ่หรือมีการแพร่กระจายแล้ว
- นำไปใช้ช่วยในการเลือกวิธีการรักษาโรคมะเร็ง เช่น การตรวจหา Estrogen Receptor และ Progesterone Receptor ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม เพื่อเลือกที่จะให้การรักษาด้วยยาต้านฮอร์โมน เป็นต้น
สารบ่งชี้ที่สัมพันธ์กับเซลล์มะเร็งที่อวัยวะต่างๆ
- CA19-9 มีความสัมพันธ์กับมะเร็งที่เกิดที่ลำไส้ใหญ่ ตับอ่อน ตับ และกระเพาะอาหาร
- AFP มีความสัมพันธ์กับมะเร็งที่เกิดที่ตับ กระเพาะอาหาร ตับอ่อน และอัณฑะ
- CEA มีความสัมพันธ์กับมะเร็งที่เกิดที่กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ตับอ่อน ปอด และ ตับ
- HCG มีความสัมพันธ์กับมะเร็งที่เกิดที่ รังไข่ ตับ ปอด กระเพาะอาหาร และทวารหนัก
- HGH มีความสัมพันธ์กับมะเร็งที่เกิดที่ปอด
- CA 153 มีความสัมพันธ์กับมะเร็งที่เกิดที่เต้านม รับไข่ ตับ ปอด กระเพาะอาหาร และทวารหนัก
- f-PSA มีความสัมพันธ์กับมะเร็งที่เกิดที่ต่อมลูกหมาก ตับ ปอด ตับอ่อน และเต้านม
- PSA มีความสัมพันธ์กับมะเร็งที่เกิดที่ต่อมลูกหมาก ตับ ปอด ตับอ่อน และเต้านม
- NSE มีความสัมพันธ์กับมะเร็งที่เกิดที่ปอด ตับอ่อน และไทรอยด์
- CA 125 มีความสัมพันธ์กับมะเร็งที่เกิดที่รังไข่ ตับ กระเพาะอาหาร ตับอ่อน เต้านม และมดลูก
- Ferritin มีความสัมพันธ์กับมะเร็งที่เกิดที่ตับ เต้านม ปอด และตับอ่อน
การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งสามารถแทนการตรวจคัดกรองมะเร็งได้หรือไม่?
- การตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง นิยมนำมาใช้ในการติดตามการรักษาและพยากรณ์โรคมะเร็ง เป็นเพียงการตรวจก่อนตรวจคัดกรองเท่านั้น ยังไม่สามารถทดแทนการตรวจคัดกรองมะเร็งได้
หมายเหตุ
- ระดับสารบ่งชี้มะเร็ง ที่ตรวจวัดด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน หรือใช้วิธีการเดียวกันแต่ใช้ชุดน้ำยาตรวจ (Diagnostic Test Kit) ต่างกัน อาจให้ค่าที่มีความแตกต่างกันได้ หากต้องการติดตามผลการทดสอบ ควรพิจารณาจากผลการตรวจของห้องปฏิบัติการเดียวกันทุกครั้ง
- เปิดทำการทุกวัน วันจันทร์-อาทิตย์ 09.00-18.00 น. (รับคิวสุดท้าย 17.00 น.)
- 22/22 ถ. รัชดา-รามอินทรา แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร 10230
- แผนที่ https://goo.gl/maps/39z4o45AZGbCGWKL8
- มีที่จอดรถหน้าคลินิก