โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคสมองเสื่อม + ตรวจร่างกายด้วยเครื่อง EIS 8 รายการ - บางกอก เวลเนส เมดิคัล คลินิก
รายละเอียดแพ็กเกจ
ตรวจคัดกรองโรคสมองเสื่อม 23 รายการ มีรายการตรวจดังนี้
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)
- ตรวจระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C)
- ตรวจระดับคอเลสเตอรอลในเลือด (Total Cholesterol)
- ตรวจระดับไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
- ตรวจระดับไขมันดี (HDL-Cholesterol)
- ตรวจระดับไขมันไม่ดี (LDL-Cholesterol)
- ตรวจการทำงานของไต (BUN)
- ตรวจคัดกรองภาวะโรคไต (Creatinine)
- ตรวจเอนไซม์ตับ (SGOT หรือ AST)
- ตรวจเอนไซม์ตับ (SGPT หรือ ALT)
- ตรวจสารโปรตีนไข่ขาว (Aluminium)
- ตรวจหาแมกนีเซียมในเลือด (Magnesium)
- ตรวจแคดเมียมในเลือด (Cadmium)
- ตรวจการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (Anti-HIV)
- ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ (Free T4)
- ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ (TSH)
- ตรวจหาค่าตะกั่วในเลือด (Lead: Pb)
- ตรวจวิตามินบี 12 (Vitamin B12)
- ตรวจคัดกรองการติดเชื้อ ซิฟิลิส (VDRL)
- ตรวจหาค่าปรอทในเลือด (Mercury: Hg)
- ตรวจหาสารหนูในปัสสาวะ (Arsenic: As)
- ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ (Doctor Consultant)
ฟรี! ปรึกษานักกายภาพบำบัด (Physical Consultation)
ตรวจการทำงานของร่างกายด้วยเครื่อง EIS 8 รายการดังนี้
- ตรวจสแกนระบบหัวใจและหลอดเลือด ด้วยเครื่อง EIS
- ตรวจสแกนระบบต่อมไร้ท่อ ด้วยเครื่อง EIS
- ตรวจสแกนระบบขับถ่ายและระบบสืบพันธุ์ ด้วยเครื่อง EIS
- ตรวจสแกนระบบสั่งการของประสาทและกล้ามเนื้อ ด้วยเครื่อง EIS
- ตรวจสแกนระบบทางเดินหายใจ ด้วยเครื่อง EIS
- ตรวจสแกนระบบการย่อยอาหาร ด้วยเครื่อง EIS
- ตรวจสแกนระบบประสาทและสมอง ด้วยเครื่อง EIS
- ตรวจสแกนระบบการเผาผลาญอาหาร ด้วยเครื่อง EIS
ระยะเวลาการให้บริการ
- ระยะเวลารับบริการประมาณ 30-60 นาที
- ทราบผลการตรวจประมาณ 7-14 วันหลังรับบริการ
ข้อควรรู้ก่อนเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคสมองเสื่อม
- ควรนัดหมายล่วงหน้า
- ผู้รับบริการจะต้องเข้ามาพบแพทย์และผู้ชำนาญการ ทั้งหมด 2 ครั้ง
- ครั้งที่ 1 เจาะเลือดที่ปลายนิ้วมือ เพื่อส่งไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการพิเศษ และตรวจสแกนร่างกาย 8 ระบบ ด้วยเครื่อง EIS
- ครั้งที่ 2 ฟังการวิเคราะห์ผลเลือดและปรึกษาแพทย์ (ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม)
- เครื่องสแกน Electro Interstitial (EIS) เป็นอุปกรณ์การถ่ายภาพทางการแพทย์ ใช้ในการตรวจดูการทำงานของเซลล์ในแต่ละอวัยวะ ทำให้เห็นภาวะผิดปกติ ระดับความเสื่อม และแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นตามหลักการสรีรวิทยา
- หากมีการดามเหล็กในร่างกาย หรือทำบอลลูนหัวใจ จะไม่สามารถตรวจร่างกายในส่วนของการสแกนร่างกายได้
- ชาวต่างชาติสามารถเข้ารับบริการได้ โดยต้องใช้พาสปอร์ตเพื่อยืนยันตัวตน
การเตรียมตัวก่อนรับบริการ
- ควรนอนพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง ก่อนตรวจ
- งดเครื่องดื่มและอาหารอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนตรวจ จิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจ
- ควรสวมเสื้อผ้าที่สะดวกต่อการเจาะเลือดที่ข้อพับแขน
- หากมีโรคประจำตัวหรือประวัติสุขภาพอื่นๆ กรุณานำผลการตรวจหรือรายงานจากแพทย์มาด้วยเพื่อประกอบการวินิจฉัย
- ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่หรือแพทย์ทราบหากสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์
- ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่หรือแพทย์ทราบหากกำลังมีประจำเดือน
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ
- แพทย์จะซักประวัติสุขภาพของผู้รับบริการ ประวัติสุขภาพคนในครอบครัว ผู้ใกล้ชิดทางสายเลือด รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่อาจมีส่วนทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม
- แพทย์อาจให้ผู้รับบริการทำแบบทดสอบซึ่งอาจเป็นชุดคำถาม การคิดเลข หรือแบบทดสอบเกี่ยวกับทักษะการใช้ชีวิตเพื่อตรวจดูอาการ และระดับของภาวะสมองเสื่อม
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- อาการแพ้สารทึบแสง เช่น ปวดท้อง มีผื่นขึ้นเป็นตุ่มนูนคัน หายใจไม่สะดวก หนังตาบวม ปากบวม คอบวม
- อาการข้างเคียงจากการรับสารทึบแสง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ
- อาจกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็ง หากทำ CT Scan บ่อยๆ หรือต่อเนื่องเป็นประจำ
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองโรคสมองเสื่อม
ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) คือภาวะความผิดปกติเกี่ยวกับสมองที่ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับความคิดอ่าน การตัดสินใจ ความจำ ภาวะอารมณ์ และเกิดพฤติกรรมที่ผิดปกติไปจากเดิม เช่น
- หลงลืมบ่อย ถึงแม้เหตุการณ์จะเพิ่งผ่านมาไม่นาน
- ถามแต่เรื่องเดิมๆ ซ้ำๆ และไม่สามารถจดจำคำตอบได้
- ทำของหายบ่อย
- หลงทางง่าย สับสนเรื่องทิศทาง
- ไม่สามารถตัดสินใจได้ ขาดทักษะในการวางแผน มีความคิดวกวน ลำดับความคิดไม่ถูก
- เรียบเรียงคำพูดเป็นประโยคไม่ได้ พูดติดๆ ขัดๆ
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
- ไม่รับรู้ในสิ่งที่เคยรู้ เช่น ไม่รู้ว่าสิ่งของที่เห็นคืออะไร จำชื่อคนใกล้ชิดไม่ได้ ใช้งานสิ่งของที่เคยใช้ไม่เป็น
สาเหตุของภาวะสมองเสื่อม
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมหลักๆ แบ่งออกได้ 2 ปัจจัย
- อายุ เพราะสมองของคนเราก็จะมีความเสื่อมสภาพไปตามอายุที่มากขึ้นเรื่อยๆ โดยส่วนมากผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมมักมีอายุโดยเฉลี่ยประมาณ 65 ปีขึ้นไป
- โรคประจำตัว โดยโรคที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมมากที่สุดคือ โรคอัลไซเมอร์ รองลงมาก็จะเป็นโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อหลอดเลือดสมอง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีเนื้องอกในสมอง ภาวะซึมเศร้า
ปัจจุบันภาวะสมองเสื่อมไม่ได้เกิดแค่ในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่คนอายุน้อย คนวัยทำงานทั่วไปก็เริ่มมีภาวะสมองเสื่อมกันมากขึ้น โดยมักเป็นผลมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสมจนทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ และเกิดโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดสมองตามมา จนเกิดภาวะสมองเสื่อมในภายหลัง เช่น
- ความเครียด
- พักผ่อนน้อย นอนดึก
- รับประทานอาหารที่มีไขมัน และคาร์โบไฮเดรตสูง
- การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- สูบบุหรี่
ดังนั้นการตรวจความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมจึงไม่จำเป็นต้องอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุเสมอไป แต่สามารถตรวจได้ทุกช่วงวัย
- เปิดทำการทุกวัน วันจันทร์-อาทิตย์ 09.00-18.00 น. (รับคิวสุดท้าย 17.00 น.)
- 22/22 ถ. รัชดา-รามอินทรา แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร 10230
- แผนที่ https://goo.gl/maps/39z4o45AZGbCGWKL8
- มีที่จอดรถหน้าคลินิก