ทำไม ผู้หญิงถึงควรฉีดวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก

Administrator

ทำไม ผู้หญิงถึงควรฉีดวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก

ทำไม ผู้หญิงถึงควรฉีดวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก


HPV คืออะไร Human Papilloma Virus (HPV) เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง 

ที่สามารถก่อให้เกิดโรคได้ในหลายส่วนของร่างกาย ไวรัสชนิดนี้มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ 

โดยจัดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มสายพันธุ์ความเสี่ยงสูงที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ได้แก่สายพันธุ์ 16,18, 31, 33, 35, 45, 52, 58 
  2. กลุ่มสายพันธุ์ความเสี่ยงต่ำ ที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ หรือหูดที่อวัยวะเพศที่ทำให้รู้สึกเจ็บ ได้แก่สายพันธุ์ 6,11 เป็นต้น


เชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดการติดต่อได้ง่ายผ่านการสัมผัสทางผิวหนัง 

และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดมะเร็งปากมดลูก เพราะทำให้เซลล์ปากมดลูกอักเสบเรื้อรัง

และอาจกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ โดยผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ HPV 

ซึ่งส่วนใหญ่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดย 50-80% ของผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว 

จะเคยติดเชื้อ HPV ซึ่งหลังติดเชื้อ 10-15 ปี จะพัฒนาเป็นมะเร็งปากมดลูก


วัคซีน HPV มีกี่ชนิด

Vaccine HPV ในปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ 

  1. ชนิด 2 สายพันธุ์ ชื่อ CERVARIX ซึ่งจะป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์  16,18 (มะเร็งปากมดลูก 70%)
  2. ชนิด 4 สายพันธุ์ ชื่อ GARDASIL ซึ่งจะป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์  16, 18,  6, 11 (มะเร็งปากมดลูก หูดหงอนไก่ และมะเร็งทวารหนัก 70%)
  3. ชนิด 9 สายพันธุ์ ชื่อ GARDASIL 9 ซึ่งจะป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52, 58 (มะเร็งปากมดลูก หูดหงอนไก่ 90% และ มะเร็งทวารหนัก 80%)


ข้อดีของวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV Vaccine)​

  • ประสิทธิภาพสูงในการป้องกันไวรัส HPV​
  • ผลข้างเคียงน้อย อาจมีปวด บวม ไข้ต่ำ ๆ แต่หายเองได้​
  • สามารถฉีดพร้อมกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ (Thin Prep)​
  • ป้องกันไวรัส HPV ได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย​
  • ไวรัส HPV นอกจากเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก ยังรวมไปถึงมะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด และหูดหงอนไก่ด้วย ​


ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชพีวี (HPV Vaccine)​

  1. มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
  2. การมีบุตรหลายคน หรือมากกว่า 3 คนขึ้นไป
  3. มีคู่นอนหลายคนหรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายที่มีคู่นอนหลายคน
  4. มีประวัติในครอบครัว เช่น มีญาติผู้หญิงเป็นมะเร็งปากมดลูก
  5. มีประวัติการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส หนองใน เริม
  6. รับประทานยาคุมติดต่อกันเป็นเวลานาน (มากกว่า 5 ปี ความเสี่ยงยิ่งเพิ่มขึ้น)
  7. พฤติกรรมอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการรับประทานผักผลไม้น้อยเกินไป


ฉีดวัคซีน HPV แบบไหนดีที่สุด

  • ประสิทธิภาพวัคซีนสูง หากฉีดในวัยที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน
  • ฉีดในวัยที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี จากงานวิจัยพบว่า ร่างกายของเด็กผู้หญิงสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสนี้ได้ดีในช่วง 9-15 ปี ซึ่งสามารถฉีดวัคซีนเพียง 2 ครั้ง แต่ได้ประสิทธิภาพเทียบเท่าการฉีด 3 ครั้ง
  • ผู้หญิงอายุ 9-26 ปี ควรฉีดวัคซีน HPV โดยเน้นให้ฉีดช่วงอายุ 11-12ปี
  • เด็กผู้ชายอายุ 9-26 ปี สามารถฉีดวัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์เพื่อป้องกันโรคหูดหงอนไก่ และมะเร็งทวารหนัก เน้นให้ฉีดช่วงอายุ 11-12 ปี


ข้อควรระวัง

  • ไม่ควรฉีดวัคซีนเอชพีวี (HPV Vaccine)​ ในผู้หญิงตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยในครรภ์ ทั้งนี้หากได้รับวัคซีนเข็มแรกก่อนการตั้งครรภ์ สามารถมารับวัคซีนเข็มที่สองได้ตามปกติหลังจากคลอดบุตรเรียบร้อยแล้ว
  • ผู้ที่ไม่สามารถรับวัคซีนเอชพีวี (HPV Vaccine)​ ได้คือผู้ที่มีภาวะแพ้ ต่อสารประกอบในวัคซีน เช่น ยีสต์ และสารเสริมฤทธิ์ชนิดต่างๆ


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

👉🏻ที่มา--->>https://shorturl.asia/ovDza