GoHospo
เขียนเมื่อวันที่ : 21 Sep 2022
เสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
ในประเทศไทยนั้น พบว่ามีผู้เป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากสูงอยู่ใน 10 อันดับต้นของโรคมะเร็งทุกชนิดอาการของโรคดังกล่าวนี้ จะไม่แสดงออกให้เจ้าตัวรู้แต่เนิ่นๆ กว่าจะมีอาการดังที่กล่าวข้างต้น มะเร็งก็อาจลุกลามอยู่ในระยะที่ 2 - 3 แล้ว ซึ่งในโรคมะเร็งระยะหลังๆนี้ จะมีการลุกลามของเซลล์มะเร็งออกจากต่อมลูกหมากไปยังอวัยวะอื่นๆข้างเคียงด้วย ซึ่งจะทำให้การรักษาเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น อัตราการหายขาดจากโรคมะเร็งน้อยลงกว่าการที่จะเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อย่างไรก็ตาม อาการบางอย่างที่เกิดจากต่อมลูกหมาก อาจเนื่องมาจากการที่เป็นต่อมลูกหมากโตก็เป็นได้ ไม่ใช่จะเป็นมะเร็งเพียงอย่างเดียว
1) ต่อมลูกหมากปกติ
2) มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก
3) เซลล์มะเร็งเติบโตภายใน
4) เซลล์มะเร็งลุกลามออกนอกต่อมลูกหมาก
ดังนั้น สิ่งที่ผู้ชายทุกคนควรรับทราบไว้คือ เมื่อถึงวัย 40 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี เพื่อรับการตรวจเลือดดูค่า PSA และขอคำแนะนำจากแพทย์เพื่อการสังเกตและติดตามรอยโรคอย่างใกล้ชิด ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีทางการแพทย์ทันสมัยมากขึ้น ทำให้การตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกๆ เป็นไปได้ง่ายขึ้น ขั้นแรกแพทย์จะตรวจเลือดเพื่อหาค่า PSA เป็นการตรวจเบื้องต้นก่อน และตรวจคลำต่อมลูกหมากดูความผิดปกติของเนื้อต่อมลูกหมาก หรือตรวจด้วยอัลตราซาวด์ หากพบว่าค่า PSA สูงกว่าเกณฑ์ปกติ ร่วมกับผลการตรวจด้านอื่นๆประกอบกัน พบว่ามีแนวโน้มที่จะเกิดมะเร็ง อาจต้องทำการตรวจชิ้นเนื้อต่อไป เพื่อหาว่าเป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่ และหากตรวจพบว่าเป็นมะเร็ง แพทย์ยังต้องวินิจฉัยว่าคนไข้เป็นมะเร็งอยู่ในระยะใดด้วย ภาพแสดงการตรวจด้วยวิธีคลำต่อมลูกหมากโดยแพทย์
แนวทางการรักษาในปัจจุบันนี้ มีหลากหลายแนวทาง ซึ่งแต่ละแนวทางจะเหมาะสมกับคนไข้มะเร็งต่อมลูกหมากในระยะของโรคที่แตกต่าง กันไป เช่น การผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากออก การฉายรังสีรักษา การฝังแร่ การใช้หลากหลายวิธีประกอบกัน การให้ฮอร์โมน การใช้ความเย็น หรือแม้แต่การทำเคมีบำบัด เพื่อให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าการรักษาจะด้วยแนวทางใดก็ตาม หากทำการรักษาตั้งแต่ระยะต้นของโรค จะมีโอกาสในการหายขาดจากโรคมะเร็งสูงกว่าการรักษาที่ระยะอื่นๆ
การรักษโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรกเริ่ม ด้วยวิธีการฝังแร่ เข้าไปที่อวัยวะเป้าหมาย เพื่อให้รังสีที่แผ่ออกมาทำลายเซลล์มะเร็ง โดยไม่กระทบกระเทีอนอวัยวะใกล้เคียงอื่นๆ การรักษาโดยวิธีนี้ ค่อนข้างง่าย และผลข้างเคียงน้อย ลดปัญหาเรื่องการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ลดอาการปัสสาวะรั่ว และเลือดออกทางทวารหนักจะต่ำกว่า 2-3 %
ขอขอบคุณบทความจาก
นพ.วิรุณ โทณะวณิก สาขา ศูนย์รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา
ที่มา: https://www.chularat3.com/knowledge_detail.php?lang=th&id=46